การสานสร้างความรู้จากสังคม
Toffler
(1980) กล่าวถึงพัฒนาการทางสังคมมนุษย์จากสังคมเกษตรกรรม
มาสู่สังคมอุตสาหกรรม และสังคมสารสนเทศ พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรียกกันในช่วงแรกว่า สังคมสารสนเทศ (information
society) ต่อมาผู้คนในสังคมที่มีปัญญาสามารถจัดการความรู้ได้
สังคมสารสนเทศก็กลายเป็น สังคมฐานความรู้(knowledge
based Society) การพัฒนาเทคโนโลยีไร้สาย
เป็นผลให้แนวทางในการจัด
การศึกษาจําเป็นต้องให้สมาชิกในสังคมให้พร้อมรับสังคมฐานความรู้ การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่
กล่าวกันในการจัดการศึกษานั้น
ต้องเกิดจากความเข้าใจผู้เรียนและสภาพแวดล้อมของผู้เรียน เพื่อสร้าง
กิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
เช่น การจัดกระบวนการ เรียนรู้ สื่อในการเรียนรู้ การศึกษาตามทฤษฎี social
constructivism มีความเหมาะสมมากสําหรับสังคมสารสนเทศ
โดยเฉพาะสังคมฐานความรู้ เนื่องจากผู้เรียนสามารถเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ
จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย หาก
สถานศึกษาจัดสภาวะแวดล้อมให้สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้จากเครือข่ายสารสนเทศ สุดาพร
ลักษณียนาวิน (2550) ได้เสนอกระบวนการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสานสร้างความรู้จากสังคม
(social constructivism) ดังนี้
การศึกษาตามแนวทฤษฎีการสานสร้างความรู้จากสังคม
หลักสูตรจะเป็นตัวกําหนดสิ่งที่จะเรียนรู้ โรงเรียนและผู้สอนจะกํากับการเรียนรู้
ผู้เรียนและผู้สอนจะช่วยกันคิดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับ สภาพสังคม
วิธีการเรียนการสอนแบบนี้ต้องรวมพลังในการเรียนการสอน ทั้งการเตรียมการ เวลาในการ
ค้นคว้าหาข้อมูลเวลาในการทํากิจกรรมและเวลาที่ต้องมีให้แก่กันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับ ผู้สอน
เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
กิจกรรมการเรียนเป็นเรื่องที่ผู้เรียนเป็นผู้กํากับดูแลเอง(autonomous
learner) ผู้เรียนเป็นผู้สานสร้างความรู้
ในบริบทของคําถามและโจทย์ที่มีให้ตอบไม่รู้จบ เครื่องมือและสภาพทาง
กายภาพของห้องเรียน
มีการออกแบบห้องเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสื่อ กับเพื่อน
และกับ ผู้สอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น