T : วิเคราะห์ภาระงาน
(Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อให้ได้ความรู้ (knowledge) ทักษะ
(Skil) และเจตคติ(Attitude)
ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนําทางผู้เรียนไปสู่ จุดหมายการเรียนรู้
การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA
diagram คือ Knowledge-SkillAttitudes การวิเคราะห์ภาระงานเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์การเรียนการสอน
ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
คือ
1.ตัดสินใจให้ได้ว่าเป็นความต้องการในการเรียนการสอน
มีภาระงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียน
การสอน
2. ต้องความชัดเจนว่าต้องเรียนรู้เรื่องใดมาก่อน
จึงจะนําไปสู่ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
3. การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน
จากขั้นที่ 2 บอกให้รู้ว่าผู้เรียนจะต้องเรียนรู้และวัดผลในเรื่องใด
Donald Clark, (2004 : 13) เสนอแนวทางการวิเคราะห์ตามกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน
นี้ว่า
เป็นการปฏิบัติเพื่อลงสรุปให้ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนให้ชัดเจน
ดังนี้
ทบทวนระบบหรือกระบวนการเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น
เรียบเรียงภาระงาน
(ถ้าจําเป็น)
* ระบุงาน
* บรรยายลักษณะงาน
* รายการ
ภาระงานของแต่ละงาน
วิเคราะห์ภาระงานนําไปสู่การปฏิบัติเพื่อสนองตอบความต้องการการเรียนรู้
เลือกภาระงานสําหรับการเรียนการสอน (ภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องก็ควรจะเลือกใช้วิธีอื่น(ที่ไม่ใช่การสอน)
สร้างเครื่องมือวัดผลการปฏิบัติ
เลือกวิธีการเรียนการสอน
ประมาณค่าใช้จ่ายในการสอน
(ถ้าจําเป็น)
หมายเหตุ คําว่า
(ถ้าจําเป็น) อาจไม่ต้องทําก็ได้ เมื่อผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายรับทราบกิจกรรมนั้น ๆ
ทราบแล้ว
การวิเคราะห์งาน
การวิเคราะห์งานเป็นการตรวจสอบว่าในการศึกษานั้น
ๆ มีงานใดที่เป็นชีวิตจริงและมีความรู้
ทักษะและเจตคติใดบ้างที่นําไปสู่ความสําเร็จในการทํางานนั้น ๆ
การวิเคราะห์งานช่วยให้แน่ใจว่าจะได้ สาระและคุณค่าที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้
คําถามหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์งาน
ในการวิเคราะห์งาน มีคําถามหลัก 3 ข้อ คือ
ภาระใดงานใดเป็นข้อกําหนดของงาน
การจัดเรียงลําดับของแต่ละภาระงานคืออะไร
เวลาที่ใช้ในการทําแต่ละภาระงาน
สุดท้ายหาคําตอบให้ได้ว่าภาระงานใดมีความสําคัญ
เนื่องจากงาน ประกอบด้วยภาระงานหลายภาระ งาน
การวิเคราะห์งานทําได้อย่างไร
วิธีการวิเคราะห์งานที่ใช้บ่อย คือ
การสอบถาม (questionnaires)
การสํารวจโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์
หรือไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์สอบถามผู้เชี่ยวชาญ
เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายน้อยและได้ข้อมูลจํานวนมาก
การสัมภาษณ์ (interviews) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
หรือการพบปะสนทนาเป็นรายบุคคลกับ ผู้เชี่ยวชาญ
เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามาก แต่มีข้อดีสําหรับคําถามปลายเปิด
หรือสามารถถามเพิ่มเติม ในประเด็นที่ต้องการได้ทันที
การสนทนากลุ่ม (focus groups) การสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
ซึ่งจะให้ผลดีกว่าในประเด็นที่จะ ช่วยให้ตรงประเด็นมากกว่า
มิฉะนั้นอาจจะเข้าใจผิดหรือมโนทัศน์ที่ผิดพลาดได้
การวิเคราะห์ภาระงาน
การวิเคราะห์ภาระงานคล้ายคลึงกันกับการวิเคราะห์งานแต่มีระดับของการวิเคราะห์อยู่ที่
รายละเอียด-หน่วยย่อย
การวิเคราะห์งานทําได้โดยการจําแนกงานออกเป็นภาระงานหลายภาระงาน จากนั้น
การวิเคราะห์ภาระงานก็จะวิเคราะห์ย่อยลงถึงส่วนประกอบ
โดยใช้คําถามในการวิเคราะห์เช่นเดียวกันกับการ วิเคราะห์งาน ดังนี้
ส่วนประกอบของแต่ละภาระงานคืออะไร
ส่วนประกอบแต่ละส่วนสามารถนํามาเรียงลําดับด้วยอะไรได้บ้าง
ส่วนประกอบแต่ละส่วนต้องใช้เวลาเท่าไร
ขั้นตอนที่จําเป็น (critical
steps) คืออะไร
และเส้นทางวิกฤติ (Critical paths) คืออะไร
ขั้นตอนที่จําเป็นหมายถึงภาระงานที่ไม่สามารถข้าม
ละเว้นไม่ต้องปฏิบัติภาระงานนั้น มิฉะนั้นจะ
มีผลเสียต่อผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้น
สืบเนื่องมาจากผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นปัจจัยป้อนให้กับขั้นตอนต่อไป
ส่วนเส้นทางวิกฤติเป็นผลต่อเนื่องจากขั้นตอนที่จําเป็น เส้นทางวิกฤติมีผลต่อโอกาสที่จะประสบผลสําเร็จ
ของงานได้และในทํานองเดียวกันก็อาจเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งก็ได้
การตัดสินใจเลือกภาระงานต้องคํานึงถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
ซึ่งโปรแกรมที่ดีต้อง แสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายที่ได้รับ
และต้องสนองจุดหมายของการเรียนรู้ไปพร้อมกัน การเลือกภาระงานอาจแบ่งภาระงานได้เป็น
3 กลุ่ม
คือ
1. กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สําหรับการเรียนแบบปกติ
(formal)
2. กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สําหรับการฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน
( on
the job training :OIT)
3. กลุ่มภาระงานที่ไม่จัดไว้ทั้งการเรียนแบบปกติหรือ
การฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน เช่น ชุด การศึกษาด้วยตนเอง ฯลฯ
คําถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ภาระงาน
donal Clark, (2004 : 10) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคําถามในการวิเคราะห์
ภาระงานไว้ดังนี้
ภาระงานนี้มีความยุ่งยาก หรือซับซ้อนเพียงใด
ในการปฏิบัติงานต้องใช้พฤติกรรมใดบ้าง
ภาระงานนี้จะต้องกระทําบ่อยเพียงใด
ภาระงานนี้มีความสําคัญต่อการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด
แต่ละคนทําภาระงานนี้ถึงระดับใด
หรือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชิ้นงาน ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงาน อะไรเป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่าง
ๆ
หากปฏิบัติภาระงานผิดพลาดหรือไม่ปฏิบัติเลย
ผลจะเป็นอย่างไร
อะไรเป็นขอบเขตของภาระงานในการปฏิบัติงานนั้น
ๆ
ระดับความชํานาญที่คาดหวังในการปฏิบัติภาระงาน
ควรจะอยู่ระดับใด
ภาระงานมีความสําคัญอย่างไร
สารสนเทศใดที่มีความจําเป็นต่อการปฏิบัติภาระงาน
และจะได้มาจากแหล่งใด
อะไรคือเงื่อนไขในผลการปฏิบัติงาน
ในการดําเนินงานตามระบบ
จําเป็นต้องมีการประสานงานกับบุคคลฝ่ายอื่น หรือภาระงานอื่น หรือไม่
ภาระงานนั้นๆ
มากเกินกว่าความต้องการในด้านต่างๆหรือไม่ เช่น ด้านการรับรู้ (perceptual)
ด้าน
ความรู้ (Cognitive)
และด้านทักษะ
(psychomotor)
และด้านกายภาพ
(Physical)
ภาระงานนี้จะต้องกระทําบ่อยเพียงใด
ภายใต้กรอบเวลา เช่น รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี)
การปฏิบัติภาระงานนี้ต้องใช้เวลามากน้อยเพียงใด
ในการปฏิบัติภาระงานนี้
บุคคลต้องมีทักษะ ความรู้ และความสามารถต่างๆ อะไรเป็นพื้นฐาน
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินการปฏิบัติที่ยอมรับได้ในปัจจุบันคืออะไร
และเกณฑ์ที่พึงประสงค์คืออะไร
พฤติกรรมใดที่สามารถจําแนกได้ว่า ใครเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ดี
พฤติกรรมใดที่มีความสําคัญ ต่อผลการปฏิบัติงานตามภาระงาน
การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้
การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้จะเป็นการจํากัดขอบเขตของเรื่องที่จะนํามาสอนกับเรื่องที่ไม่ต้อง
มมาสอน
ซึ่งมีความสําคัญยิ่งในปัจจุบันเนื่องจากหนังสือเรียนบรรจุสาระสนเทศไว้มากเกินกว่าที่จะนํามา
สอนอย่างมีประสิทธิผลในระยะเวลาหนึ่งภาคเรียน ควรยึดหลักว่า เพื่อเป็นผลดีต่อ
การเรียนรู้จริง ๆ ของ ผู้เรียน
สื่อการเรียนรู้ที่จําเป็นถึงแม้ว่าจะน้อยแต่ก็ดีกว่าสื่อการเรียนรู้ขนาดใหญ่
แต่ไม่ได้ช่วยให้ประสบ ความสําเร็จในการเรียน
วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ เนื้อหาสาระที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์
อาจจะแบ่งได้ หลายลักษณะ เช่น การเย และบริกส์ (Gagne and
Briggs 1974:53
- 70) กําหนดสาระการเรียนรู้ ดังนี้ 1) ข้อมูลที่เป็นความรู้ 2) เจตคติ และ 3)
ทักษะ ส่วนเดคโค (De Cecco 1968 : 214 - 447) แบ่งสาระการ
เรียนรู้ตามจุดประสงค์เป็น 1) ทักษะ 2) ความรู้ที่เป็นข้อมูลธรรมดา 3)
ความคิดรวบยอดและหลักการ และ 4) การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์และการค้นพบ
การวิเคราะห์เนื้อหาสาระ
ควรดําเนินการดังนี้
ตัดสินใจให้ได้ว่าสารสนเทศใดมีความจําเป็นสูงสุด
แบ่งออกเป็นมโนทัศน์ย่อยๆ
ขอเสนอแนะให้มีโครงสร้างการจําแนกจุดประสงค์การเรียนรู้มาใช้ในการตัดสินใจในการสอน
อาทิ การจําแนกจุดมุ่งหมายการศึกษาของ บลูม (Bloom's
Taxonomy)
การออกแบบและพัฒนาภาระงาน
Herman, J.L, Aschbacher, P. R, and
Winters, L. (1992
อ้างถึงใน ขอบ ลีซอ (2555) การประเมิน ตามสภาพจริง สํานักทดสอบทางการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ) การออกแบบและพัฒนาภาระงาน ต้อง อาศัยหลักวิชา การวิเคราะห์
ความคิดสร้างสรรค์และความเชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระในระดับมืออาชีพ
ขั้นตอนการสร้างภาระงานมีดังต่อไปนี้
1. การระบุความรู้และทักษะที่ผู้เรียนจะเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน
โดยเริ่มจากพิจารณาและ
วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตร ผลการเรียนที่คาดหวัง
หรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อที่จะ สามารถระบุขอบเขตและประเภทของความรู้
ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ผู้สอนควรตั้งปัญหาถามตนเอง 5
ข้อเพื่อที่จะระบุหรือกําหนดความรู้และความสามารถที่ผู้เรียน
จะได้รับจากการปฏิบัติภาระงาน คือ
1) ทักษะทางปัญญาและคุณลักษณะที่สําคัญที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ฝึกและพัฒนาคืออะไร
เช่น การสื่อสารด้วยการเขียนอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาโดยใช้ข้อมูลขั้น
ปฐมภูมิและจากเอกสารอ้างอิง การใช้หลักพีชคณิตเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน
เป็นต้น
2) ทักษะและคุณลักษณะทางสังคม
และจิตพิสัยที่ต้องการพัฒนาให้ผู้เรียน คืออะไร เช่น การทํางานโดยอิสระ
การปฏิบัติโดยร่วมมือกับผู้อื่น ความมั่นใจในความสามารถของตน และการรู้จัก
รับผิดชอบ เป็นต้น
3) ทักษะความคิดระดับสูงและอภิปัญญา
(Meta-cognition)
ที่ต้องการพัฒนาให้ผู้เรียนคือ
อะไร เช่น การใคร่ครวญ ตรึกตรอง ทบทวนกระบวนการทํางานของตน(ผู้เรียน)
การประเมินประสิทธิภาพ ของกลวิธีที่ตน(ผู้เรียน)ใช้การพิจารณาและประเมินความก้าวหน้าของตนเอง(ผู้เรียนเป็นระยะ
ๆ เป็นต้น
4) ความสามารถที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความสามารถอะไร
เช่นความสามารถในการวางแผน ศึกษาค้นเพื่อหาคําตอบให้กับประเด็นปัญหาที่กําหนดให้
ความสามารถจําแนกประเภทปัญหาที่สามารถใช้ หลักการทางเรขาคณิตแก้ได้ การแก้ปัญหาที่ไม่มีคําตอบที่ถูกต้องแน่ชัด
เป็นต้น
5) หลักการทางวิชาการและความคิดรวบยอดที่ต้องการให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้คือ
อะไร เช่น การใช้หลักการทางนิเวศวิทยากําหนดแนวปฏิบัติในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
การใช้หลัก คณิตศาสตร์ไตรยางค์ในการแก้ปัญหาเรื่องการซื้อขาย เป็นต้น
2. ออกแบบภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะ
(จากข้อ
1)
ลักษณะสําคัญของงานคือ
ต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน มีความท้าทาย
แต่ไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทําไม่ได้ และใน
ขณะเดียวกันต้องครอบคลุมสาระสําคัญทางวิชาและทักษะที่ลึกซึ้ง
เพื่อให้สามารถนําผลการประเมินไปใช้ได้ อย่างสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ
Herman et al. (1992) ได้เสนอประเด็นคําถามสําคัญเพื่อให้ผู้สอนพิจารณาในขั้นตอนนี้
คือ
1) เวลา
จะต้องใช้เวลาเท่าไร ผู้เรียนจะพัฒนาความรู้และทักษะที่เป็นเป้าหมายของการ
ปฏิบัติงานในระยะเวลาเท่าไรจึงจะเหมาะสม
เนื่องจากการพัฒนาความคิดรวบยอดที่สําคัญและทักษะ กระบวนการคิดระดับสูง
ความรู้ทักษะมักจะใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ยาวนานพอสมควร ผู้สอนผู้ออกแบบ
ควรจะกําหนดเวลาที่เหมาะสมตามประเภทของสาระสําคัญและความลึกซึ้งของทักษะ
และวัยระดับชั้นเรียน หรือพัฒนาการด้านสติปัญญาของผู้เรียน
2) จะมีหลักการอย่างไร
ในการเลือก ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่มีจํานวน มากและหลากหลาย
เพื่อให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่กําหนด หลักการสําคัญคือพิจารณาจากมาตรฐานการ 4
เรียนรู้ ให้ความสําคัญกับความรู้ ทักษะ
และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตาม การ
หลักสูตรสถานศึกษา และความรู้ ทักษะ
และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่มีขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่ เม กว้างขวาง
และใช้ได้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย
3) พิจารณาโลกแห่งความเป็นจริง
ผู้สอน/ผู้ออกแบบควรให้ความสําคัญต่อความรู้ ทักษะและ
คุณลักษณะที่สอดคล้องกับความเป็นจริง
ไม่ควรให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นเพียงอุดมคติแต่ไม่สามารถบรรล และ
ได้ในความเป็นจริง
3. การกําหนดเกณฑ์การให้คะแนน
(Rubrics)
หรือเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน
เป็นปรนัย เป็นที่ ยอมรับ
และสามารถสะท้อนให้เห็นถึงระดับของผลสัมฤทธิ์ทางด้านความรู้ ทักษะ
และคุณลักษณะที่พึง ในปี ประสงค์ เกณฑ์การให้คะแนนส่วนมากมักจะอยู่ในรูปตาราง 2 มิติ
ประกอบด้วย
ส่วนหัวของ Rows จะแสดงระดับคุณภาพของความรู้
ทักษะหรือความสามารถของแต่ละ Column จํานวน Rows
จะขึ้นอยู่กับจํานวนของระดับคุณภาพที่ต้องการใช้
และส่วนมากจะอยู่ระหว่าง 2-3 ระดับ
ช่องแต่ละช่องในตารางจะมีคําบรรยายถึงระดับคุณภาพแต่ละระดับของความรู้
ทักษะ หรือ รับ
ความสามารถที่ประเมินภาระงานแต่ละชิ้นควรจะมีเกณฑ์การประเมินเฉพาะตัว
เกณฑ์การประเมินที่
ออกแบบมาอย่างดีจะให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนว่าจะต้องแสดงความสามารถด้านใดออกมาในระดับใดจึงจะได้
คะแนนเท่าไร
เกณฑ์การประเมินยังเป็นเครื่องมือให้ผู้สอนสามารถประเมินผู้เรียนอย่างเป็นปรนัยและได้ผล
การประเมินที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ ควรจะมีตัวอย่างผลงานพร้อมทั้งระดับคะแนนแต่ละด้านให้นักเรียนได้
ศึกษาประกอบด้วย
หมายเหตุ ผู้สอน
ผู้ออกแบบควรจะภาระงานไปทําการตรวจสอบทบทวน แล้วนําไปทดลองใช้ ] ในภาคสนาม
นําผลกลับมาศึกษาวิเคราะห์ และปรับปรุงแก้ไข ก่อนจะนําไปใช้ในสถานการณ์จริงต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น