การประเมินตามมาตรฐาน(Standards - Based Assessment)
1. การวัดประเมินผลคือ การประเมินผลการเรียนรู้    คือการแสวงหาและการแปลความหมายของหลักฐานข้อมูลที่ได้จากการประเมิน เพื่อที่ เพื่อที่จะทราบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่เพียงใด เพื่อให้ครูและนักเรียนนำข้อมูลที่ได้นี้ไปใช้ในการตัดสินใจให้กับผู้เรียนว่าจะเรียนรู้สิ่งใด และทำอย่างไรให้ดีที่สุด รวมทั้งใช้ข้อมูลการประเมินผลไปใช้พิจารณาในการวางแผนพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อให้มีความรู้และความสามารถตามมาตรฐานซึ่งถือเป็นความคาดหวังของสังคมที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
          2. การประเมินตามมาตรฐาน(Standards - Based Assessment) หรือการประเมินอิงมาตรฐาน คือการวัดประเมินผลที่ตรงตามมาตรฐานหรืออิงมาตรฐานการเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด  โดยใช้มาตรฐานการเรียนรู้เป็นตัวตั้ง เพื่อให้ครอบคลุมผู้เรียนที่แตกต่างกัน  การประเมินผลตามมาตรฐานอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดี แต่ก็ต้องมีการสร้างมาตรฐานที่แตกต่างออกมาใช้เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนมากขึ้น 
การประเมินอิงมาตรฐานมีความสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา และพัฒนาการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ซึ่งต้องเชื่อมโยงการประเมินเข้ากับหลักสูตร และองค์ประกอบอื่นของรูปแบบการเรียนรู้ด้วย การประเมินอิงมาตรฐานต้องประเมินอย่างต่อเนื่องโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการช่วยผู้เรียนที่จะพัฒนาความรู้ ความสามารถให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้   
          3. รูปแบบการประเมิน 2 รูปแบบ  คือ Formative Assessment  หรือการประเมินผลย่อยซึ่งเป็นการประเมินผลระหว่างเรียนตลอดเวลา และเป็นฐานของการประเมินที่นำไปสู่  Summative   Assessment หรือการประเมินผลรวม ซึ่งเป็นขั้นการประเมินที่สรุปการเรียนการสอนแล้ว
          4.  ลักษณะสำคัญของการประเมินแต่ละระดับ คือ
                   - Formative เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนในห้องเรียน ช่วยกำหนดมาตรฐาน เนื้อหา และ มีเกณฑ์เป็นตัวกำหนด ทำให้การประเมินแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ การประเมินนี้ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการวิจัย สามารถประเมินเป็นระยะ ๆ ได้ตลอดเวลา Formative evaluation ได้กำหนดสิ่งจำเป็นที่ต้องมี 4 ข้อ คือ 1 กำหนดสิ่งที่นักเรียนต้องเรียนรู้ 2 การแปลผลย้อนกลับสู่นักเรียน 3 นักเรียนมีส่วนร่วม 4 กระบวนการเรียนรู้
                   - Interim อยู่ระหว่างการประเมินแบบ formative กับ summative เป็นการประเมินช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มักจะประเมินในระดับโรงเรียนถึงระดับเขต พื้นที่
                   - Summative เป็นการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน ที่ครูประเมินจากข้อมูลของนักเรียนตามความแตกต่างแต่ละคน ทำให้มีการออกแบบเฉพาะสิ่งที่ต้องการประเมิน เพื่อให้ครูสามารถวินิจฉัยการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนได้
                   การเรียนรู้ เริ่มจากการประเมินแบบ formative ก่อน และไปสิ้นสุด ที่การประเมินแบบ summative เป็นการกำหนดรูปแบบการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ให้ครอบคลุมทักษะและความรู้ที่จำเป็น มุ่งเน้นให้ครูจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้เกิดกับนักเรียน
          5.  Formative Assessment  ในส่วนของบทบาทของนักเรียน  มีบทบาทในการเรียนรู้ รับข้อมูลที่ใช้ในการที่สามารถปรับความคิดในเชิงบวกสนับสนุน และพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองได้ตามเกณฑ์ ครูจำเป็นต้องกำหนดเกณฑ์ (rubrics) และข้อมูลในการพัฒนานักเรียน เมื่อนักเรียนได้รับรู้ เกิดความเชื่อมั่น และสามารถปฏิบัติตามเกณฑ์นั้นได้ การประเมินตนเอง ช่วยให้นักเรียนมีมาตรฐานในการทำงานสำหรับตนเอง เพื่อตัดสิน ชิ้นงานและการปฏิบัติงาน สิ่งสำคัญของการประเมิน เพื่อปรับปรุงการทำงานของนักเรียน แต่ไม่ใช่เพื่อจัดอันดับ หรือการลงโทษ
          6.  Formative Assessment  ในส่วนของบทบาทของครู   ครูต้องมีความชัดเจน และใช้ให้เหมาะสมกับวิธีการสอน และ เทคนิคของครู ครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา ควรให้ความสำคัญกับการประเมินผล เพราะการประเมินผลอย่างถูกต้อง และยุติธรรม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ในความเป็นจริงในการศึกษาปัจจุบัน ครูขาดทักษะในการใช้ข้อมูลและดึง ข้อสรุป หลังจากการประเมินผลแล้ว ในกระบวนการเรียนรู้ที่มีการประเมินที่มีคุณภาพสูง ครูต้องรู้ว่าในการประเมินผลนั้นมีเป้าหมายอะไร ทำอย่างไรจะไปถึงเป้าหมาย และมีวิธีใดที่ช่วยให้ประสบผลสำเร็จ ดังนั้น ครูต้องมีเทคนิค ในการสอนที่ต้องใช้คำถาม เพื่อเน้นให้นักเรียนมีทักษะในการคิดที่ซับซ้อน และมีเหตุผล
          7.   Formative Assessment  ในส่วนของบทบาทของของโรงเรียนและเขตพื้นที่
ควรเน้นในการพัฒนาครู โรงเรียนต้องวางแผนเพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการประเมิน ต้องได้รับการสนับสนุนจากนักการศึกษาที่เห็นความสำคัญของการประเมินที่มีคุณภาพ ให้ครูเห็นความสำคัญของการประเมินที่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนได้
          8. ข้อเสนอแนะด้านการจัดการเรียนการสอน กับการประเมิน Formative Assessment   
                   - มีความต่อเนื่องและทำเป็นประจำ
                   - ใช้เพื่อกำหนดแนวทางการสอน
                   - เพื่อให้ข้อมูลป้อนกลับที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน
                   - ใช้เครื่องมือวัดแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
                   - มีการประเมินตนเอง
                   - มีข้อมูลที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อนักการศึกษา
          9. วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ในการประเมิน แบบ Formative Assessment
                   1. การตั้งเกณฑ์และจุดมุ่งหมาย
                   2. การสังเกต
                   3. การตั้งคำถาม
                   4. การประเมินผลด้วยตนเองหรือคู่
                   5. การรวบรวมข้อมูลของนักเรียน
          10. นำมาตรฐานการเรียนรู้มาเป็นตัวกำหนดและวางแผนในการประเมิน ทั้ง  Formative Assessment  และ  Summative   Assessment   หรือที่เรียกว่า การวัดประเมินผลที่ตรงตามมาตรฐาน(Standards - Based Assessment) หรืออิงมาตรฐานการเรียนรู้
          11.  การตัดเกรด   แต่ละระดับเกรดจะต้องมีเกณฑ์การประเมินแบบ Rubric ชี้แจงด้วยเพื่อเทียบให้เห็นถึงการประเมินที่อิงมาตรฐานเหมือนกับของกระทรวง
          12.   รูปแบบการายงานผล บัตรรายงานผลการเรียน ใช้การรายงานผลการเรียน
           13. ลักษณะของข้อสอบที่เป็นมาตรฐาน ต้องสอดคล้องกับกิจกรรมที่อิงมาตรฐาน
ให้ความสำคัญที่เป้าหมายของกิจกรรมเอื้อต่อการปรับปรุงการสอน    ต้องจัดเตรียมเครื่องมือในการประเมินให้แก่ครูผู้สอนเพื่อนำไปพัฒนา ประเมินแล้วนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดีขึ้น
          14. คุณภาพที่สร้างความมั่นใจในการประเมินผล  คือมีเหตุผลในการประเมินและตัดสิน  และมีความน่าเชื่อถือ
          15. เครื่องมือการวัดและประเมินผล
                   1. เครื่องมือวัดด้านความรู้ - ใช้แบบทดสอบชนิดเลือกตอบ
                   2. เครื่องมือวัดด้านการปฏิบัติงาน - การประเมินการทำงานกลุ่ม – การประเมิน                       จากผลงาน
                   3. เครื่องมือวัดด้านเจตคติ - แบบประเมินตนเอง ( Self-assessment) – แบบมาตร                  วัดประมาณค่า (Rating scale) - แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) –
                               แบบบันทึกพฤติการณ์ (Anecdotal record)
          16. หลักปฏิบัติที่สำคัญ ของการประเมินผลการเรียนรู้
                    1. ให้การวัดประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ
                   2.  การประเมินผล เน้นที่นักเรียนเรียนรู้อย่างไร 
                   3.  การประเมินผล เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติ ในชั้นเรียน
                   4.  การประเมินผล เป็นทักษะวิชาชีพที่สำคัญ
                   5.  การประเมินผล มีความสำคัญและช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาขึ้น
                   6.   การประเมินผล เป็นการกระตุ้นการดูแลผู้เรียน 
                   7.  การประเมินผล เสริมความเข้าใจจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้และเกณฑ์
                   8.  การประเมินผล ช่วย ผู้เรียนในการปรับปรุงการเรียนรู้   
                   9.  การประเมินผล พัฒนาความสามารถในการประเมินตนเอง
                   10.  การประเมินผล  เป็นการประเมินที่ตระหนักถึงความสำเร็จของการเรียนรู้
          17.  กรอบของการประเมินผล
                   1. เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของหลักสูตรและเป้าหมายการเรียนรู้ของนักเรียน
                   2. เป็นการสร้างเกณฑ์สำหรับการเรียนของนักเรียนที่ชัดเจน
                   3. สนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกในสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ทำได้
                   4. ความสมดุลของผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนกับกระบวนการหรือขั้นตอนที่ชัดเจน
                   5. เป็นการให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้เรียนในสิ่งที่พวกเขาปรับปรุงเพื่อพัฒนาผลการ               เรียนและเป็นข้อเสนอแนะให้กับครูผู้สอนและการพัฒนาหลักสูตร
          18. องค์กรกับการนำหลักการประเมินผลไปใช้
                   1 ครูผู้สอนโดยตรง
                   2. สำนักงานทดสอบในระดับโรงเรียนเขตการศึกษาระดับท้องถิ่นรวมถึงระดับชาติ
          19.การประเมินในชั้นเรียน   (Classroom Assessments)
          หลักการประเมินในชั้นเรียนเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องพัฒนาและเลือกวิธีการประเมินนักเรียนมาใช้สำหรับการประเมินตามมาตรฐานการเรียน โดยมีหลักการดังนี้
                    1. มีการพัฒนาและเลือกใช้วิธีการประเมินนักเรียน
                    2. มีการเก็บรวมรวมและเลือกข้อมูลที่ใช้ในการประเมินนักเรียน
                   3. การตัดสินและให้คะแนนการปฏิบัติงานตามความสามารถของนักเรียน
                    4. การสรุปผลและแปลผลการประเมิน 
                   5. การรายงานผลการประเมินนักเรียน
          20.  การประเมินจากรูปแบบที่สร้างจากภายนอก  นำเข้าไปใช้ในชั้นเรียน   (Assessments Produced External to the Classroom  )เป็นการพัฒนาและใช้วิธีการประเมินมาตรฐานที่ใช้ในการเรียน สำหรับใช้ในการสอบเข้าสู่ การรับรอง และการวินิจฉัยการจัดการศึกษา การประเมินหลักสูตรและโปรแกรมการเรียน   มีหลักการและแนวทาง ในการจัดการ 4 ข้อ คือ
                   1. การพัฒนาและการเลือกวิธีการประเมินผล
                   2. รวบรวมข้อมูลและแปรผลการประเมิน
                   3. แจ้งการประเมินให้นักเรียนทราบ
                   4. ทำให้โปรแกรมการประเมินนั้นบรรลุผลตามที่ต้องการ   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น