DRU Model


DRU Model


DRU Model คืออะไร
          D คือการวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
          R คือขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
          U คือการตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้
หลักการ DRU Mode
          1. หลักปรัชญาการสอน ใช้หลักปรัชญาการสอนตามแนวคิด ทฤษฎีสรรค์นิยม
          2. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ( learner centered learning) การเรียนรู้โดยใช้การวิจัย เป็นฐานะ และการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (cooperative learning)
          3. การประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริง (authentic assessment) และกำหนดคุณภาพตามแนวคิด SOLO Taxonomy ร่วมกับแนวคิดกำรออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล (Universal Design for Learning and Assessment) ตอนการจัดการเรียนรู้


D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs)



ขั้น D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
                    1 . ใช้คำถามกระตุ้นความคิดในการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (specifying learning goals) เพื่อให้ผู้เรียนระบุว่าหน่วยการเรียนรู้หรือบทเรียนนั้น ๆ มีความรู้และทักษะอะไร ผู้เรียนจะต้องระบุความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) และระบุทักษะการปฏิบัติหรือกระบวนการ (procedural knowledge) ข้อมูลที่ได้จะต้องมีความชัดเจนทั้งในเรื่องของจุดมุ่งหมาย และระดับคุณภาพของการเรียนรู้ กล่าวโดยสรุป จุดมุ่งหมายการเรียนรู้จะถูกระบุว่า ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้อะไร และ หรือสามารถทำอะไรได้
                    2. ใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิดระดับพัฒนาการในการเรียนรู้ เป็นการออกแบบการเรียนรู้ โดยอาศัยแนวคิดการกำหนดเกณฑ์คุณภาพเป็นค่าระดับตามโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (structure of observed learning out - come : SOLO Taxonomy) การวางกรอบการประเมินการเรียนรู้ จะช่วยให้มั่นใจว่าการจัดการเรียนการสอนหรือเรียนรู้ตรงตามจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้อันส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
                    3. ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้หรือเลือกกลยุทธ์การเรียนรู้ของตนเอง ที่คาดว่าจะช่วยให้ ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่จุดมุ่งหมายการเรียนรู้เป็นความรู้ความเข้าใจ (ตามแนวคิดบลูมส์) กิจกรรมการเรียนรู้ก็อาจใช้ สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นการอ่าน (หนังสือ คู่มือ ฯลฯ) หรือการฟัง (การบรรยาย อธิบาย ฯลฯ) เป็นต้น ในกรณีที่จุดมุ่งหมายเป็นการพัฒนาความคิดขั้นสูง (วิเคราะห์ ประเมิน และสร้างสรรค์ ) กิจกรรมการเรียนรู้ก็อาจใช้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เชิงสังคม (social constructivist) อาทิ การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (cooperative learning) กลยุทธ์การเรียนรู้แบบทำงานเป็นทีม ฯลฯ  
                    สรุป ขั้นแรกของ DRU Model ผลผลิตที่ได้จากขั้นตอน D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs) คือ การระบุเป้าหมายการเรียนรู้  (goal setting relative to learning task)


R : ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Research into identifying effective learning environments)

R : ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ได้นำแนวคิด “การวิจัยในกระบวนการ เรียนรู้”  “สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้” มาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ดังนี้
         1. ใช้คำถามเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (specifying learning goals) คือผลการเรียนรู้ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ระดมสมองเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แสวงหาแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ การจัดสภาพแวดล้อมให้บรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน เป็นต้น
2. ใช้คำถามสร้างความคิดเกี่ยวกับ กิจกรรมการเรียนรู้ (learning activity) ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองเสมอ ความสำคัญในการเรียนรู้อยู่ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรมากกว่าที่จะบอกว่าผู้สอนสอนอะไรหรือทำอะไร การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ – ปฏิบัติภาระงาน/ กิจกรรมตามที่วิเคราะห์และออกแบบการเรียนรู้ไว้เป็นการวางแนวทางเพื่อการเรียนรู้ซึ่งหมายถึง การกระทำใดๆ ที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ผู้เรียนมีการกำกับติดตามตนเองเพื่อให้ได้ความรู้ (monitoring the execution of knowledge)  
3. ใช้คำถามกระตุ้นผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยเพื่อสืบเสาะหาความรู้จากการศึกษาจากฐานข้อมูลความรู้ /หนังสือ หรือแหล่งสืบค้นออนไลน์  โดยระบุภาระงานในการ สืบค้นรายบุคคลหรือกลุ่ม และมอบหมายงาน/ภาระงานรายบุคลหรือกลุ่มแล้วแต่กรณี ร่วมกันวางแนวทางการประเมินด้วยการระบุคุณภาพการเรียนรู้เป็นวิถีทางที่จะนำผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ จากการวัดผลการเรียนรู้ของตนเอง และช่วยให้ผู้เรียนสามารถกำกับติดตามได้อย่าง กระจ่างชัด (monitoring clarity)
4. ใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบทบทวนการเรียนรู้ของตนเอง อาทิ “ผู้เรียนจะทำอะไร หรือปฏิบัติอย่างไร ที่แสดงว่าผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้” “ผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์ (วิเคราะห์ ประเมิน และสร้างสรรค์) กับแหล่งเรียนรู้อย่างไร” “ผู้เรียนจะได้รับหรือมีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นั้นๆ อย่างไร”  คำถามดังกล่าวนี้จะช่วยในการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนเองซึ่งเป็นแนวทางกำกับติดตามที่ถูกต้องแม่นยำ (monitoring accuracy) จากนั้น ผู้เรียนร่วมกันสรุป และวิพากษ์ เป็นการนำเสนอความรู้โดยใช้ภาษา/คำพูดของตนเอง
สรุป ขั้น R ของ DRU Model ผลผลิตที่ไดจากขั้น R : การวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้  (Research into identifying effective learning environments ) คือ ผลผลิตที่ได้จากขั้นตอนนี้เรียกว่า การเรียนรู้พัฒนา Meta Cognition
U : การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้ (Universal Design for Learning and Assessment)

U : การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้ (U-Universal Design for Learning and Assessment) นำแนวคิดการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล ร่วมกับแนวคิดโครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Structure of Observed Learning Outcome : SOLO Taxonomy) มาเป็นแนวคิดในการสร้างเกณฑ์ระดับคุณภาพของพัฒนาการการเรียนรู้ ดังนี้
1. ใช้คำถามกระตุ้นให้คัดตรวจสอบทบทวนเกี่ยวกับความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าจุดหมายการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับบริบทและหรือให้สารสนเทศพื้นฐานของเนื้อหาสาระ หัวข้อ สำคัญของบทเรียนหรือหน่วยการเรียน และจุดหมายดังกล่าวเหมาะสมกับท้องถิ่น และสะท้อนมาตรฐานของชาติหรือไม่
2. ใช้คำถามที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้แล้ว โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบพื้นฐาน การเลือกกิจกรรมที่ผู้เรียนจะได้รับโอกาสเพื่อความสำเร็จตามหลักสูตรประเมินจุดเด่น/จุดด้อยของตนเอง สะท้อนพัฒนาการการเรียนรู้และเสนอแนะแนวทางการแก้ไข
3. ใช้คำถามเกี่ยวกับช่องทางหรือวิธีการที่ผู้เรียนจะให้ข้อมูลย้อนกลับมาเพื่อประเมินในระหว่างเรียนและเพื่อผู้เรียนได้ประเมินตนเอง ร่วมกันประเมินการเรียนรู้ตามหลักสูตรและการบรรลุมาตรฐานของชาติ
4. ใช้คำถามเกี่ยวกับเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน และข้อมูลย้อนกลับ โดยรวม เพื่อนำไปวางแผนการจัดระดับคุณภาพ และหรือตัดสินผลการเรียนที่การประเมินความรู้ ไม่ได้มาจากแบบทดสอบเท่านั้น แต่มาจากประเมินการปฏิบัติจากชิ้นงานตามระดับคุณภาพ SOLO Taxonomy แบบประเมินผลงาน /ชิ้นงาน (ตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ในขั้นการวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs) – คำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิดระดับพัฒนาการในการเรียนรู้เป็นการออกแบบการเรียนรู้  
The SOLO taxonomy คือการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งไม่มุ่งเน้นเฉพาะการสอนและการให้คะแนนจากผลงานเท่านั้น  ให้ความสำคัญข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนในปัจจุบัน สื่อการเรียนรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติของผู้เรียนในชั้นเรียน การประเมินความสามารถของผู้เรียนแบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1. ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structure ) นักเรียนจะได้ข้อมูลเป็นส่วนๆ ที่ไม่ปะติดปะต่อกัน ไม่มีการจัดการข้อมูลและความหมายโดยรวมของข้อมูลไม่ปรากฏ
2. ระดับโครงสร้างเดี่ยว (Uni-structure) ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐานง่ายต่อการเข้าใจ แต่ไม่แสดงความหมายของความเกี่ยวโยงข้อมูล
3. ระดับโครงสร้างหลากหลาย (Multi-structure) ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลหลายๆ ชนิดเข้าด้วยกัน ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างความเกี่ยวโยงไม่ปรากฏ
4. ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational Level) ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงข้อมูลได้ ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูล และภาพรวมทั้งหมดได้
5. ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract Level) ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลนอกเหนือจากหัวเรื่องที่ได้รับ ผู้เรียนสามารถสรุปและส่งผ่านความสำคัญและแนวคิดที่ซ่อนอยู่ภายใต้กรณีตัวอย่าง การนำ SOLO taxonomy มาใช้เป็นแนวการประเมินผลการเรียนรู้เป็นการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน จะช่วยให้ทราบถึงพัฒนาการการเรียนรู้ระหว่างเรียน (Formative) เพื่อที่จะได้หาวิธีการแก้ไข ปรับปรุงวิธีการสอนและวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนที่โดยไม่ได้มุ่งเน้นการให้คะแนนจากผลงานทั้งจากผู้สอนและผู้เรียนเพียงเท่านั้น สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนา Meta cognition ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ปฏิบัติจากสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งช่วยให้ทั้ง ครูผู้สอนและผู้เรียนเองเกิดความกระจ่างชัดในเป้าหมายการเรียนรู้ และมีการกำกับติดตาม กระบวนการเรียนรู้ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาที่มีความซับซ้อนก่อให้เกิดพัฒนาการการ เรียนรู้
สรุปได้ว่า การดำเนินการตามขั้น U: Universal Design for learning (การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล : UDL) เป็นขั้นที่ให้นักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิตประเมินตรวจสอบทบทวนตนเองและการยืนยันความถูกต้อง และมีการกำกับติดตามซึ่งการกำกับติดตามนั้นมีความถูกต้องแม่นยำ (Monitoring Accuracy) ผลผลิตตามขั้นตอนนี้คือ ผลประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO Taxonomy ซึ่งเป็นการระบุแนวทางการประเมินการเรียนรู้ตามระดับคุณภาพการเรียนรู้ โดยกำหนดระดับคุณภาพการเรียนรู้ไว้ 4 ระดับ คือ ระดับการเรียนรู้เท่ากับ
SOLO 1 = ต่ำ หมายถึง ระดับความจำ–ความเข้าใจ
SOLO 2 = ปรับปรุง หมายถึง ระดับการนำไปใช้-การประยุกต์ใช้
SOLO 3 = ปานกลาง/พอใช้ หมายถึง ระดับการเรียนรู้ในระดับสร้างสรรค์ (ความรู้ที่เกิดจาก ตนเอง)
SOLO 4 = สูง หมายถึง ระดับMeta cognitive System (ความรู้ระดับอภิปัญญา/การรู้คิด
ที่มา : อ.ดร.นฤมล  ปภัสสรานนท์
(รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น