จุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม

จุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม
Bloom และคณะ (1956) ได้จัดกลุ่มการเรียนรู้ออกเป็นสามประเภท คือ ด้านพูทธพิสัย ด้านทักษะพิสัย และด้านพิสัยรวมถึงการเรียนร้ และการ ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะพิสัยรวมถึงการพัฒนาเสรีทางกายและทักษะที่ต้องการใช้กล้ามเนื้อสัมพันธ์กับประสาทจิตพิสัยเกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งเจตคติ ความซาบซึ้งและค่านิยม การเรียนรู้ทั้ง สามประการนี้ควรได้รับการพิจารณาในการวางแผนผลที่ได้รับ จากการเรียนรู้ทีได้จากการเรียนการสอน ในการที่จะประสบผลสำเร็จตามจุดหมายของการศึกษา ขอบเขต การเรียนรู้ทั้งสามนี้ต้องได้รับการบูรณาการเข้าไว้ในทุกลักษณะของการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรซึ้งจะทำให้ผู้เรียนกลายเป็นจุดโฟกัสของกระบวนการเรียนการสอนการเรียนรู้  ดังภาพประกอบที่ 1
ภาพประกอบที่ 1 บูรณาการของพุทธพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย



อนุกรมภิธาน เป็นระบบของการแยกแยะบางสิ่งบางอย่าง ดังนั้น อนุกรมภิธานของการศึกษา จึงแยกแยะพฤติกรรมที่นักเรียนสามารถคาดหวังที่จะทำให้ได้ภายหลังจากที่ได้เรียนรู้แล้ว อนุกรมภิธานเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คือ อนุกรมภิธานด้านพุทธิพิสัยของบลูมและคณะ

พุทธิพิสัย รวมถึง ความรู้ความเข้าใจการนำไปประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า พุทธิพิสัยแต่ละประเภทในอนุกรมภิธานประกอบด้วยองค์ประกอบบางประการของประเภทความรู้ที่ต้องมาก่อนอนุกรมภิธานนี้มีประโยชน์สำหรับการออกแบบหลักสูตรและการสร้างแบบทดสอบ



ตารางที่ 1 อนุกรมภิธานทางปัญญาของบลูม


ระดับพฤติกรรม
นิยาม
1.ความรู้
เกี่ยวข้องกับความจำและระลึกได้ของข้อความจริงเฉพาะคำต่างๆ สัญลักษณ์ วะนที่ สถานที่ ฯลฯ
กฎ แนวโน้ม ประเภท วิธีการ ฯลฯ
หลักการ ทฤษฎี วิธีการจัดความคิด

2.ความเข้าใจ
เกี่ยวข้องกับความสามารถที่จะใช้ การเรียนรู้ แปลความ สรุปความ ตีความ ย่อความ ขยายรายละเอียด ทำนายผล และผลที่ติดตามมา
3.การนำไปประยุกต์ใช้
เกี่ยวข้องกับความสามารถที่จะใช้ในการเรียนรู้ที่หลากหลายสถานการณ์การใช้หลักการและทฤษฎีการใช้ความเป็นนามธรรม
4.การวิเคราะห์
เกี่ยวข้องกับการแตกส่วนใหญ่ให้เป็นส่วนย่อยระบุหรือแยกส่วนขององค์ประกอบค้นพบปฏิสัมพันธ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักการ
5.การสังเคราะห์
เกี่ยวข้องกับการผสมผสานองค์ประกอบเข้าด้วยกันเป็นสิ่งใหม่ระบุและเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นการใหม่ๆ จัดการผสมผสานส่วนย่อยต่างๆ เข้าด้วยกันสร้างสิ่งใหม่ขึ้น
6.การประเมินค่า

เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคุณค่าของวัตถุและวิธีการ พิจารณาในรูปของมาตรฐานภายในพิจารณาในรูปของมาตรฐานภายนอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น