KSA Model
ความรู้ (Knowledge)หมายถึง
ความหมายของคำว่า “ความรู้” มีนักวิชาการได้ให้ความหมายหรือคำนิยามในหลายประเด็น
ดังนี้
ความรู้ หมายถึง สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบ
เชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุป และตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆโดยไม่กำหนดช่วงเวลา
(สํานักงาน ก.พ.ร.และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ,2548;
8)
ความรู้
จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
ได้นิยามความหมายไว้ว่า ความรู้
คือสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือจากประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ
ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ องค์วิชาในแต่ละสาขา
ความรู้ หมายถึง ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ ที่เป็นสภาพแวดล้อมและกรอบการทำงานสำหรับการประเมิน
และรวมกันของประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ (Davenport and Prusak)
ดังนั้นสรุปได้ว่า ความรู้ (Knowledge) ตามความหมายที่มีผู้ให้นิยามไว้หลายประเด็นหมายถึง
สารสนเทศที่นำไปสู่การปฏิบัติ เป็นเนื้อหาข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง
ความคิดเห็น หลักการ รูปแบบ กรอบความคิด หรือข้อมูลอื่นๆซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้า
หมายบางประการ
ประเภทของความรู้ ความรู้แบ่งออกเป็น
2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
ความรู้ที่มีอยู่ในตัวตนของเรา หรือความรู้ที่อยู่รูปแบบสื่อหรือเอกสาร
1.
ความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ จากพรสวรรค์ หรือเกิดจากความสามารถในการรับรู้ของบุคคลที่เกิดจากการทำความเข้าใจในสิ่ง
ต่างๆ ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดได้ เช่น ทักษะในการทำงาน และการคิดวิเคราะห์
2.
ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบสื่อหรือเอกสาร เป็นความรู้ที่ชัดเจนสามารถรวบรวมหรือถ่ายทอดความรู้นั้นๆด้วยวิธีการต่างๆ
เช่น เขียนหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร บันทึกเทป หรือวิธีการอื่นๆ
ความรู้เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก
เนื่องจากมีความเป็นนามธรรมสูง แต่หากศึกษาประเภทและความหมายของความรู้ที่มีผู้ให้คำนิยามไว้อย่างกว้าง
ขวางและมีความหลากหลาย ก็สามารถทำความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปปฎิบัติได้ไม่ยาก
ทักษะ Skill
ทักษะ
ความหมาย ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552
หมายถึง ความชำนาญ ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษว่า skill
พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย
ได้ขยายความหมาย ของคำว่า ทักษะ
(skill) ว่าหมายถึง ความชำนาญหรือความสามารถในการกระทำหรือการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งอาจเป็นทักษะด้านร่างกาย สติปัญญา หรือสังคม ที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝน หรือการกระทำบ่อย
ๆ
ทักษะ
หมายถึง ความชัดเจน และความชำนิชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งบุคคลสามารถสร้างขึ้นได้จากการเรียนรู้
ได้แก่ ทักษะการอาชีพ การกีฬา การทำงานร่วมกับผู้อื่น การอ่าน การสอน การจัดการ
ทักษะทางคณิตศาสตร์ ทักษะทางภาษา ทักษะทางการใช้เทคโนโลยี ฯลฯ
สรุปได้ว่า ทักษะ หมายถึง ความชัดเจนหรือความสามารถของบุคคลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ซึ่งอาจเป็นทักษะทางด้านร่างกาย สติปัญญาและสังคม เกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้
การฝึกฝน การทำงานร่วมกับผู้อื่น การสอนและการจัดการ ตัวอย่างการใช้ทักษะ เช่น
ครูมีทักษะการใช้คำถาม การนำเข้าสู่บทเรียน การใช้สื่อการสอน นักเรียนมีทักษะ
การฟัง พูด อ่าน เขียน การคิดคำนวณ หรือทักษะทางสังคม
การใช้ทักษะกับการดำเนินชีวิต
การใช้ทักษะมีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์
ซึ่งสามารถแบ่งทักษะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ออกเป็น 10 ประการ ดังนี้
1.
ทักษะการตัดสินใจ
(Decision making) เป็นความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง
ๆ ในชีวิตได้อย่างมีระบบ
2.
ทักษะการแก้ปัญหา
(Problem Solving) เป็น
ความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบ ไม่เกิดความเครียดทางกายและจิตใจ
จนอาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตเกินแก้ไข
3.
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
(Creative thinking) เป็น
ความสามารถในการคิดที่จะเป็นส่วนช่วยตัดสินใจและแก้ไขปัญหาโดยการคิดสร้าง สรรค์
เพื่อค้นหาทางเลือกต่าง ๆ
4.
ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
(Critical thinking) เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลต่าง
ๆ และประเมินปัญหา หรือสถานการณ์ที่อยู่รอบตัวเราที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต
5.
ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
(Effective communication) เป็น
ความสามารถในการใช้คำพูดและท่าทางเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเอง
ได้อย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรม และสถานการณ์ต่างๆ
6.
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
(Interpersonal relationship) เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน
และสามารถรักษาสัมพันธภาพไว้ได้ยืนยาว
7.
ทักษะการตระหนักรู้ในตน
(Self-awareness) เป็น
ความสามารถในการค้นหารู้จักและเข้าใจตนเอง
8.
ทักษะการเข้าใจผู้อื่น
(Empathy) เป็น
ความสามารถในการเข้าใจความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างบุคคล ในด้านความสามารถ เพศ
วัย ระดับการศึกษา ศาสนา ความเชื่อ สีผิว อาชีพ ฯลฯ
9.
ทักษะการจัดการกับอารมณ์
(Coping with emotion) เป็น
ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น
10.
ทักษะการจัดการกับความเครียด
(Coping with stress) เป็น
ความสามารถในการรับรู้ถึงสาเหตุของความเครียด รู้วิธีผ่อนคลายความเครียด
และแนวทางในการควบคุมระดับความเครียด เพื่อให้เกินการเบี่ยงเบนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่เกิดปัญหา
ด้านสุขภาพ
ทัศนคติ (Attitude) หมายถึง กรอบแนวคิด
ทัศนคติ ของผู้ให้บริการ
ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะทัศนคติ หรือกรอบแนวคิดนั้น จะเป็นตัวกำหนด การกระทำ
และ การกระทำ เป็นตัวกำหนดนิสัย ดังนั้นทัศนคติ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการปลูกฝัง
พนักงานผู้ให้บริการลูกค้า ให้มีทัศนคติที่ดี มองถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นหลัก เพราะหากผู้ให้บริการมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการบริการแล้วนั้นไซร้
ย่อมจะเป็นไปไม่ได้ที่เขาจะมีพฤติกรรมการให้บริการที่ลูกค้าที่ดีได้
ส่วนในมุมมอง ทัศนคติ ของบุคคลทั่วไป
นั้น สรุปในเรื่องทัศนคติ จากงานวิจัย ของนักจิตวิทยาชิ้นหนึ่ง ดังนี้
นัก วิจัย
ได้ทำการทดลองโดยแบ่งผู้ทดลองออกเป็นสองกลุ่ม ทั้งสองกลุ่มนี้ถูกแนะนำให้รู้จัก
บุคคลสมมติคนหนึ่ง ในกลุ่มแรกได้รับการแนะนำบุคคลสมมติให้ ชื่อว่า ธีระ แนะนำว่า
ธีระ มีนิสัยที่
1. อิจฉา
2. รั้น
3. ชอบการวิพากษ์วิจารณ์
4. เฉลียวฉลาด มีความมุ่งมั่น
อารมณ์ร้อน
ส่วนกลุ่มที่สองได้รับการแนะนำบุคคลสมมติให้
ชื่อว่า ภูชิสส์ แนะนำว่า ภูชิสส์ มีนิสัยที่
1. เฉลียวฉลาด
มีความมุ่งมั่น อารมณ์ร้อน
2. ชอบการวิพากษ์วิจารณ์
3. รั้น
4. อิจฉา
สองกลุ่ม นี้ได้ฟังข้อมูลในลักษณะที่กลับกัน
กลุ่มแรกรู้จักในด้านลบ (-) ไปหาด้านบวก
(+) ในขณะที่กลุ่มที่สองรู้จักในด้านบวก (+) ไปหาด้านลบ (-)
หลังจากนั้นเมื่อลองสอบถามความเห็นของคนทั้งสองกลุ่ม
ปรากฏว่าผลที่ได้คือ คน ในกลุ่มแรกมองว่า ธีระน่าจะมีปัญหาในการปรับตัวอยู่ร่วมกับคนอื่น
เนื่องจากความเป็นคนขี้อิจฉา อารมณ์ร้อน และชอบวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น
ส่วน ความเห็นในกลุ่มที่สองกลับเป็นตรงข้ามว่า
ภูชิสส์ เป็นคนมีสติปัญญา และมีความมุ่งมั่น จะทำให้เขาประสบความสำเร็จในการทำงาน ส่วนที่เขาอารมณ์ร้อนและชอบโต้เถียงก็เพราะเขาต้องการให้คนอื่นยอมรับในความ
คิดของเขาจาก การทดลองนี้ ทำให้นักจิตวิทยาได้ข้อสรุปว่า ความประทับใจจากการรับรู้ที่เกิดขึ้นในครั้งแรก
มีผลต่อทัศนคติที่เรามีต่อคนนั้นในครั้งต่อๆ ไป และในคนคนเดียวกันก็อาจจะก่อให้เกิดภาพประทับใจที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มคน
ที่ได้รู้จักเขานี่ คงจะเป็นเหตุผลข้อหนึ่งที่ว่าทำไมคนเราต้องพยายามให้ภาพภายนอกดูดีสำหรับคน
ที่รู้จักเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพบกันครั้งแรกทั้งนี้ก็เพื่อว่า ภาพประทับใจที่ดีในครั้งแรก
จะมีผลต่อเนื่องไปถึงทัศนคติที่ดีในครั้งต่อๆ ไปเหตุผล เพิ่มเติมก็คือ
ที่คนเราสนใจในการสร้างภาพลักษณ์ในแง่ดีให้ปรากฏก็เพื่อว่า ความประทับใจที่ดีที่ผู้อื่นมีต่อเรา
จะช่วยให้เราทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น