การออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ


การออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ
การออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ (Backward Design) เป็น วิธีการออกแบบการเรียนการสอนที่เอา เป้าหมายการเรียนรู้” (Desired outcomes) เป็นตัวตั้ง กำหนด วิธีการวัดผลและชิ้นงาน” (Evidence of understanding) ที่สามารถใช้เป็นการบอกว่าผู้เรียนได้บรรลุผลการเรียนรู้ หลังจากนั้น ออกแบบกิจกรรมการเรียน” (instruction) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างชิ้นงานที่ระบุได้ ตามภาพ


ตารางแสดงข้อแตกต่างของการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบเดิมกับแบบ Backward Design
แผนการจัดการเรียนรู้แบบเดิม
แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design 
1. กำหนดเป้าหมาย ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ กำหนดวิธีการประเมิน
1. กำหนดเป้าหมาย  ชิ้นงานและวิธีการประเมินมาสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2. เขียนแผนการจัดการเรียนรู้จากมาตรฐานการเรียนรู้สู่กิจกรรมการเรียนรู้  วิธีการประเมิน
2. เขียนแผนการจัดการเรียนรู้จากมาตรฐานการเรียนรู้  สู่ชิ้นงานและวิธีการประเมิน ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
3. กรอบแนวคิด : ออกแบบโดยใช้วิชา เนื้อหาเป็นตัวตั้ง  โดยกำหนดเป้าหมายที่ความรู้ ทักษะและทัศนคติตามที่กำหนดในวิชา
3. ใช้การออกแบบการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะหลักของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง (Core competency) เน้นการประเมินจากผลงานที่สะท้อนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่แท้จริงที่เป็นผลจากการเรียนรู้ในรายวิชาของผู้เรียน

การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ
          การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับตามข้อเสนอของ Grant Wiggins และ Jay McTighe แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1      กำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้ (Identify desired goals) ผู้สอนระบุความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านทัศนคติ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในผู้เรียนเมื่อเรียนจบหน่วยการเรียนรู้ โดยตั้งคำถามสำคัญ (Essential Questions) เพื่อกำหนดเป็นกรอบความคิดหลักว่า เมื่อจบหน่วยการเรียนรู้แล้ว
                           1)   ผู้เรียนควรรู้อะไร และมีความเข้าใจในหัวข้อความรู้หรือสาระการเรียนที่เป็นแก่นสำคัญในเรื่องใดบ้าง
                      2)  ผู้เรียนควรปฏิบัติและแสดงความสามารถในเรื่องใดบ้าง จนเป็นพฤติกรรมติดตัวคงทนหรือเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Enduring Understanding)
                      3)  สาระสำคัญที่ควรค่าแก่การเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ได้แก่เรื่องอะไรบ้าง เพื่อจะช่วยให้ผู้เรียนดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทั้งการทำงานหรือการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น
                      4)  ผู้เรียนควรมีความรู้และเกิดความเข้าใจที่ลุ่มลึกยั่งยืนเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้างที่จะติดตัวผู้เรียนและสามารถนำไปบูรณาการเชื่อมกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                      5)  ผู้เรียนควรเรียนรู้ในสภาพจริงและ/หรือจัดทำโครงงานตามสาระการเรียนรู้ใดบ้างที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตัวผู้เรียน
ขั้นตอนที่ 2      กำหนดหลักฐานและวิธีวัดประเมินผลการเรียนรู้ (Determine Acceptable Evidence)   ระบุเครื่องมือที่ใช้วัดประเมินผลและวิธีการวัดประเมินผล โดยเน้นการวัดจากพฤติกรรมการเรียนรู้รวบยอด           (Performance Assessment) เพื่อประเมินว่าผู้เรียนสามารถแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เป็นผลมาจากการ      มีความรู้ความเข้าใจตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในเป้าหมายหลักของการจัดการเรียนรู้ได้จริงหรือไม่         อะไรคือร่องรอยหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนรู้และสามารถทำได้ตามที่มาตรฐานกำหนด ทั้งนี้ผู้สอนควรดำเนินการวัดประเมินผลก่อนเรียน ในระหว่างเรียน และเมื่อสิ้นสุดการเรียน โดยใช้เครื่องมือการวัดประเมินผลย่อยๆ ทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบกับการรวบรวมหลักฐานร่องรอยของการเรียนรู้ที่ผู้เรียนแสดงออกอย่างครบถ้วน เช่น

·       การใช้แบบทดสอบย่อยๆ
·       การสังเกตความพร้อมทางการเรียน
·       การสังเกตการทำกิจกรรม การตรวจการบ้าน
·       การเขียนบันทึกประจำวัน (Learning Log)
·       การสะท้อนผลจากชิ้นงานต่างๆ เป็นต้น
                      ข้อพึงระมัดระวัง คือ การกำหนดชิ้นงานของการเรียนรู้ที่เกิดกับผู้เรียนนั้น ต้องเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ได้ว่า ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ด้วยวิธีการประเมินอย่างหลากหลาย และมีความต่อเนื่องจนจบสิ้นกระบวนการเรียนรู้ที่จัดขึ้น และชิ้นงานการประเมินต้องมีความเที่ยงตรง เอื้อต่อการเรียนรู้ตามสภาพจริงของผู้เรียน ผู้สอนจึงควรตรวจสอบชิ้นงานการเรียนรู้กับวิธีการวัดประเมินผลว่ามีความสอดคล้องสัมพันธ์กันหรือไม่ แนวทางการกำหนดชิ้นงาน
1.       ชิ้นงานที่จะใช้ในการประเมินว่าผู้เรียนบรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานการเรียนรู้ ควรเป็นชิ้นงานที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ (Performance) ของผู้เรียนอย่างชัดเจน เพื่อแสดงความรู้ ทักษะ และทัศคติของผู้เรียน
2.       การระบุชิ้นงานที่จะใช้ในการประเมินว่าผู้เรียนบรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานการเรียนรู้หรือไม่ จะต้องประกอบด้วย
2.1.  ลักษณะชิ้นงาน
2.2.  เกณฑ์การประเมินชิ้นงาน
3.       อาจจะใช้หลานชิ้นงานร่วมกัน เพื่อแสดงถึงความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของผู้เรียนได้
ขั้นตอนที่ 3      วางแผนการจัดกิจกรรมและเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้และมีชิ้นงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ผู้สอนควรวางแผนการเรียนการสอน ว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไรจึงจะสนับสนุนให้ผู้เรียนมีความรู้ที่ฝังแน่นตามที่มาตรฐานกำหนดไว้  ตามประเด็นต่อไปนี้
          1) ผู้เรียนจำเป็นต้องมีความรู้ (ข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด ทฤษฎี หลักการต่างๆ)    และทักษะ (กระบวนการทำงาน) อะไรบ้างจึงจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจหรือมีความสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนด
          2) ผู้สอนจำเป็นต้องสอนและชี้แนะหรือจัดกิจกรรมอะไรบ้างจึงจะช่วยพัฒนาผู้เรียน  ให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย

          3) ผู้สอนควรใช้สื่อการสอน วัสดุอุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้อะไรบ้างที่จะ           ช่วยกระตุ้นผู้เรียน และเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น
          4) การกำหนดขอบข่ายสาระการเรียนรู้ รูปแบบกิจกรรม และสื่อการเรียนรู้ มีความกลมกลืนสอดคล้องและมีประสิทธิภาพหรือไม่ จะช่วยส่งผลต่อการวัดประเมินผลได้ชัดเจนหรือไม่
          ทั้งนี้ผู้สอนอาจยึดหลักเทคนิค WHERE (ไปทางไหน) ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ ดังนี้
                      เทคนิควิธีการ WHERE  นี้ ผู้สอนจะเริ่มดำเนินการจากขั้นตอนใดก่อนก็ได้ ยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ของบทเรียนและสภาพปัญหาของผู้เรียน แต่ต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกันทุกครั้งจึงจะบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
                      ผู้สอนจึงควรตรวจสอบรายละเอียดก่อนนำไปปฏิบัติตามตาราง ดังนี้
ผังการประเมิน : เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของกิจกรรม สื่อและการประเมินผลการเรียนรู้


วิธีการประเมิน
กิจกรรมการเรียนการสอน
ทรัพยากร/สื่อ
จำนวนชั่วโมง






การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
                 ผู้สอนควรกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนา มีความรู้และทักษะตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นจริงแก่ผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีศักยภาพตามมาตรฐานและตัวชี้วัดแต่ละข้อประกอบด้วยกิจกรรมใน 3 ลักษณะ ได้แก่ กิจกรรมนำสู่การเรียน กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาผู้เรียน และกิจกรรมรวบยอด
                 การจัดการเรียนการสอนโดยทั่วไปนั้น ครูจะเริ่มต้นจากกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นความสนใจหรือปูพื้นในเรื่องที่จะสอนก่อน จากนั้นจึงจะดำเนินการจัดกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถตามลำดับ จนกระทั่งมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะทำกิจกรรมสุดท้ายหรือกิจกรรมรวบยอด เพื่อให้ได้ชิ้นงานหรือภาระงานที่จะเป็นเครื่องสะท้อนว่า นักเรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ อย่างแท้จริง
                 1. กิจกรรมนำสู่การเรียน (Introduction Activities) เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการกระตุ้นความสนใจของนักเรียนในตอนต้น ก่อนการจัดกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมนำสู่การเรียนควรมีลักษณะ ดังนี้
                        - กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ มีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้
                        - เชื่อมโยงสู่กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมรวบยอด
                        - เชื่อมโยงถึงประสบการณ์เดิมที่นักเรียนมีอยู่
                        - ช่วยให้นักเรียนได้แสดงถึงความต้องการในการเรียนรู้ของตนเอง
                 2. กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนหรือกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ (Enabling Activities)  เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนานักเรียนให้เกิดความรู้ และทักษะที่เพียงพอต่อการทำกิจกรรมรวบยอด      การกำหนดกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนควรมีลักษณะ ดังนี้
                        - สัมพันธ์เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดที่เป็นเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้
                        - ช่วยสร้างองค์ความรู้และทักษะ เพื่อพัฒนานักเรียนไปสู่ตัวชี้วัดที่กำหนด
                        - กระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
                        - ส่งเสริมการเรียนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ              
                        - สามารถประเมินจากผลงานหรือภาระงานของนักเรียนได้
                 3. กิจกรรมรวบยอด (Culminating Activities) เป็นกิจกรรมที่แสดงว่านักเรียนได้เรียนรู้และพัฒนาถึงตัวชี้วัดที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้นั้น การกำหนดกิจกรรมรวบยอดควรมีลักษณะ ดังนี้
                   - เป็นกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของนักเรียน
                   - เป็นกิจกรรมที่นักเรียนได้แสดงออกถึงการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาตลอดหน่วยการเรียนรู้นั้น
                   - ครอบคลุมตัวชี้วัดที่เป็นเป้าหมายของหน่วย
                   - การประเมินการปฏิบัติกิจกรรมต้องสัมพันธ์กับตัวชี้วัด
                   - เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนได้ใช้ความรู้และทักษะกระบวนการตามตัวชี้วัดที่กำหนดอย่างเต็มตามศักยภาพ
                   - เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
                   - เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ
                   - เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

 อ้างอิง
Wiggins, Grant. (2005) Overview of UBD & The Design Template
Wiggins, Grant., McTighe, Jay. (2005) Overview of UBD & The Design Template



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น